บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

Strategic Marketing Conceptual Framework

รูปภาพ
กรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ได้จากทบทวนวรรณกรรมของนักวิจัยในอดีต ได้แก่ Kotler ( 2000); Kotler  ( 2003); Kriemadis & Terzoudis (2007); Ayub &  Razzaq (2013); Iyamabo & Otubanjo (2013) พบว่า แรง กดดันจากสภาพแวดล้อม ( Environment Pressure ) ส่งผลทางตรงต่อการตลาดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Marketing )  ขณะที่การตลาดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Marketing ) ส่งผลทางตรงต่อการประเมินผลการดำเนินงานทางการตลาด  ( Marketing Evaluation ) โดยการทบทวนและการควบคุมแผนการดำเนินงานทางการตลาด ( Marketing Review  and Control ) ส่งผลร่วมต่อการประเมินผลการดำเนินงานทางการตลาด ( Marketing Evaluation ) ทั้งนี้สามารถอธิบายความหมายขององค์ประกอบแต่ละตัวแปรได้ดังนี้ •         แรงกดดันจากสภาพแวดล้อม ( Environment Pressure ) ประกอบด้วย ( External Environment ) 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก และ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ( Internal Environment ) •      การตลาดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Marketing ) ป...

การส่งเสริมการตลาด- แนวใหม่

รูปภาพ
Promotion Model จะประกอบไปด้วยแบบ   Push Strategy  และแบบ  Pull Strategy  โดยมีไว้เพื่อใช้กระตุ้นให้ ผู้บริโภคเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า โดยจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตราสินค้า  (Brand switching) สำหรับแนวทางใหม่ที่มีการใช้มาได้ระยะหนึ่งและยังพัฒนาการใช้อย่างต่อเนื่องคือ การประยุกต์ IMC มาใช้ในการส่งเสริมการขาย ได้แก่ 1. Advertising (การโฆษณา)       มุ่งเน้นการใช้สื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ กระตุ้นให้เกิดความต้องการและการตัดสินใจซื้อ 2.  Direct marketing ( การตลาดทางตรง )       มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือหรือกลไกในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรงเพื่อกระตุ้นความต้องการ เช่น  Direct Mail  ( จดหมายตรง )  Cataloging  ( แคตตาล็อค )  Tale marketing ( การตลาดใช้โทรศัพท์ )  Direct response ads ( การตอบรับทางตรง )  Internet Sales ( การขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ) เป็นต้น 3.  Sales promotion ( การส่งเสริมการขาย )      มุ่งเน้นการใช้โปรโมชั่น เช่น การลด แลก...

สถานที่ ช่องทางการจัดจำหน่ายและการกะจายสินค้า

รูปภาพ
ช่องทางการจัดจำหน่าย คือ กลุ่มองค์กรอิสระที่ช่วยอำนวยการขนย้ายแลกเปลี่ยนสินค้าจากผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางอุตสาหกรรม ช่องทางการจัดจำหน่ายจะเกี่ยวข้องกับคนกลางที่ทำหน้าที่เป้นตัวแทนจัดจำหน่ายทั้ง ค้าส่ง ค้าปลีก ผู้ขนส่ง เพื่อขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคในแต่ละขั้น ทั้งนี้บางองค์กรมีการดำเนินการด้านการจัดจำหน่ายด้วยตนเอง แต่ในปัจจุบันพบว่าน้อยลงเนื่องจากการแข่งขันด้านเวลา สถานที่จัดจำหน่ายและเครือข่ายธุรกิจ ทำให้ต้องพึ่งพาช่องทางการจัดจำห่ายที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างงานวิจัยที่มีการศึกาษาด้านการกระจายสินค้า  คุณภาพการบริการของการกระจายสินค้าในการค้าปลีกออนไลน์ (Physical distribution service quality in online retailing) ผู้วิจัย Yuan Xing, David B. Grant, Alan C. McKinnon, John Fernie (2010) จากภาพลูกค้าจะสั่งสินค้าผ่านเว็บไซต์ของผู้ค้าปลีก ขณะที่ผู้ค้าปลีกจะส่งคำสั่งซื้อไปที่คลังสินค้าซึ่งจะมีการจัดเตรียมสินค้าและส่งสินค้าโดยใช้รถ VAN ในการส่งไปที่กลุ่มลูกค้าที่รับสินค้า ซึ่งลูกค้าจะตรวจสอบรายการและยอมรับสินค้าหรือปฏิเสธสินค้าที่ไม่ครบตามการสั่งซื้อ  ขณะท...

การตั้งราคาและนโยบายและกลยุทธ์การตั้งราคา

การตั้งราคา ประกอบไปด้วย 1. Organization objective 2. Consumer willingness to pay 3. Costs of producing and marketing product 4. Reactions of competition 5. Change in 2 3 4  การตั้งราคาที่พบเห็นได้บ่อย เช่น การตั้งราคาเพื่อเข้าตลาด หรือ Penetration Pricing เป็นการนำเสนอราคาที่ใกล้เคียงราคากลางในตลาด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสินค้าและบริการไม่ได้มีความแตกต่างที่โดดเด่นที่สามารถเพิ่มมูลค่าของราคาได้ อีกประเภทคือ การตั้งราคาแบบ Skimming Pricing  คือ ราคาที่แพงกว่าท้องตลาด หรือ Premium Pricing ซึ่งเป็นราคาที่เกิดขึ้นเพราะสินค้าและบริการมีความโดดเด่นชัดเจน สามารถตั้งราคาที่แพงกว่าและกระตุ้นการตัดสินใจซื้อผู้บริโภคได้ แต่ทั้งนี้ต้องระวังว่าการตั้งราคาแบบ Skimming Pricing ไม่ใช่การตั้งราคาสำหรับสินค้าประเภท Luxury Brand 

ผลิตภัณฑ์ (Product)

คำจำกัดความผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งใดๆ ก็ตามที่นักการตลาดสามารถดำเนินการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ผลิตภัณฑ์สามารถจำแนกได้ ดังนี้ เกณฑ์อายุการใช้ เกณฑ์ทางกายภาพ ระหว่างสิ่งที่จะต้องได้กับจับต้องไม่ได้ และเกณฑ์สินค้าอุตสาหกรรม หรือสินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ระดับ ได้แก่   Core customer value,   Actual product, and  Augmented product  องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ (Product Component) องค์ประกอบผลิตภัณฑ์   (Product   Component)   เป็นการคำนึงถึงสิ่งที่นักการตลาดจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่นักการตลาดต้องนำมากำหนดลักษณะผลิตภัณฑ์ในการตอบสนองความต้องการของตลาด     โดยสามารถแบ่งได้    ดังนี้ 1.  ผลิตภัณฑ์หลัก ( Core Product)    นักการตลาดต้องรู้และเข้าใจว่าอะไรในตัวผลิตภัณฑ์ขององค์กรที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ 2.  คุณสมบัติผลิตภัณฑ์   (Product  Attribute)   นักการตลาดต้องรู้ถึง...

การวิจัยตลาด (Marketing Research)

การวิจัยตลาด มีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้ได้ข้อมูลมาเพื่อการกำหนดแผนการตลาด การปรับกลยุทธ์การแข่งขันด้านการตลาดให้มีความเหมาะสมและสามารถใช้ในการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ได้เปรียบเหือคู่แข่งขัน เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด การสร้างการรับรู้ เป็นต้น  เอกสารตำราวิชาการระบุว่า การวิจัยตลาด คือ  การรวบรวม บันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดของสินค้าและบริการต่าง ๆ อย่างมีระเบียบแบบแผน การวิจัยตลาดแบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ 1. การวิจัยผู้บริโภค (Consumer Research) 2. การวิจัยผลิตภัณฑ์ (Product Research) 3. การวิจัยราคา (Pricing Research) 4. การวิจัยการโฆษณา (Advertising Research) 5. การวิจัยการขาย (Sales Research) 

ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภคคือ 6Ws  และ  1H  ซึ่งประกอบด้วย   WHO  ใครคือลูกค้าเป้าหมาย , What  ผู้บริโภคจะซื้ออะไร , Why  ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อ , Who  ใครคือผู้ส่วนในการตัดสินใจ , When  ซื้อเมื่อใด , Where  ซื้อที่ไหน , How  ซื้ออย่างไร พฤติกรรมผู้บริโภคจะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายนอก อันประกอบด้วย  ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านจิตวิทยา ขั้นตอนในการตัดสินใจของผู้ซื้อ ประกบด้วย   การรับรู้หรือตระหนักปัญหา การค้นหาข้อมูล การประเมินทางเลือก และพฤติกรรมภายหลังการซื้อ สิ่งกระตุ้นภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นทางการตลาด ประกอบด้วย  Product Price Place Promotion   และสิ่งกระตุ้นอื่่นๆ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี การตอบสนองของผู้ซื้อ ประกอบไปด้วย การเลือกผลิตภัณฑ์ การเลือกตรา การเลือกผู้ขาย เวลาในการซื้อ ปริมาณการซื้อ

STP เครื่องมือการวิเคราะห์ลูกค้า

การวิเคราะห์ลูกค้าด้วยเครื่องมือ  STP  จะประกอบไปด้วยเครื่องมือ  3  ส่วนได้แก่ 1.  การแบ่งส่วนตลาด ( Market Segmentation)  คือ การกำหนดและแบ่งกลุ่มผู้ซื้อ ที่มีความใกล้เคียงกันสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1.1  แบ่งส่วนตลาดโดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างของพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่ผู้บริโภคอาศัยอยู่  (Geographic Segmentation) 1.2 แบ่งส่วนตลาดโดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ของลูกค้า (Demographic Segmentation) 1.3  แบ่งส่วนตลาดโดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างของลักษณะทางจิตวิทยาของลูกค้า  (Psychographic Segmentation) 1.4 แบ่งส่วนตลาดโดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างพฤติกรรมผู้บริโภค  (Behavioral Segmentation) 2.  การเลือกตลาดเป้าหมาย  ( Market Targeting)  คือ   การคัดเลือกส่วนตลาดที่จะเข้าไปทำการตลาด   หรือการแข่งขัน   ซึ่งอาจเลือกเฉพาะส่วนที่เหมาะสม   หรือเลือกทั้งหมด   ขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการที่มี 3.  การกำหนดตำแหน่งทางการตลาด ( Market Positioning)  คือ การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของอ...

การจัดการการตลาด (Marketing Management)

การจัดการตลาดจะเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่      1. การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ( Strategic marketing Planning)    2. การปฏิบัติการ ( Strategic marketing Implementation)    3. การควบคุมทางการตลาด ( Strategic marketing Control)    1. การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ( Strategic marketing Planning)  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยใช้เครื่องมือ SWOT Analysis ทั้งนี้ SW การ ทบทวนแนวคิดพบว่ามีการวิเคราะห์ปัจจัย เช่น Man Material Machine Money Management and Information นอกจากนี้อาจใช้การวิเคราะห์ 7S of Mc K insey มาใช้ในการวิเคราะห์ได้เช่นกัน ขณะที่ OT มีการวิเคราะห์โดยใช้ PEST ได้แก่ Political and Legal, Economic, Social and Cultural, and Technology แต่ในต่างประเทศนิยมใช้ PESTLE โดยแยก Legal ออกมาและเพิ่ม Environment เข้าไปให้สอดคล้องกับยุคสมัย และนำมาสร้างทางเลือกกลยุทธ์โดยใช้เครื่องมือเช่น TOWS Matrix เป็นต้น    2. การปฏิบัติการ ( Strategic marketing Implementation)  คื...

สภาพแวดล้อมทางการตลาด (Marketing Environment)

สภาพแวดล้อมทางการตลาด (Marketing Environment) สิ่งแวดล้อมหรือสภาพแวดล้อมการตลาด ประกอบไปด้วย 2 กลุ่ม คือ (1)  สภาพแวดล้อมภายนอก (External Factors) แบ่งกลุ่มย่อยได้เป็น  สภาพแวดล้อมมหภาค หรือ PEST,  สภาพแวดล้อมจุลภาค (2)  สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Factors) 1. สภาพแวดล้อมภายนอก (External Factors) เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ทำได้เพียงการวางแผนและการดำเนินกิจกรรมเพื่อป้องกัน หรือพยายามจัดการกับแผงผลักดันหรือผลกระทบนั้นให้เหมาะสม ซึ่งประกอบไปด้วย 1.1 สภาพแวดล้อมมหภาค เป็นแรงผลักดัน หรือผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีขนาดใหญ่และส่งผลกระทบต่อองค์กรและอุตสาหกรรม ได้แก่ ประชากร การเมืองและกฎหมาย เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี วิ่งแวดล้อม การแข่งขัน 1.2  สภาพแวดล้อมจุลภาค เป็นแรงผลักดันที่ใกล้องค์กร และมีส่งผลต่อการดำเนินงานด้านการตลาดขององค์กร ได้แก่ Customer, Competitor, Supplier 2. สภาพแวดล้อมภายใน (Internal Factors) เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นภายในองค์กร ทำให้องค์กรสามารถที่จะปรับเปลี่ยนหรือจัดการเพื่อให้เกิดการเหมาะสม ...

ส่วนประสมทางการตลาด

ปัจจุบัน ยุคที่ไม่สามารถหลีกหนีการบริการลูกค้าได้ ส่วนประสมทางการตลาดจึงถูกยกเป็น 7P's  1. Product ผลิตภัณฑ์ในการแข่งขันการตลาดปัจจุบัน ตองมีคุณภาพและความแตกต่างที่ชัดเจนและโดเด่นถึงจะเป็น Order Winner ได้ 2. Price ราคาการขายสินค้ามีทั้งแบบการตั้งราคาเพื่อการเข้าตลาด ซึ่งไม่แตกต่างจากคู่แข่งขัน ขณะที่สินค้าที่มีความแตกต่างและโดดเด่นกว่าจะสามารถใช้ราคาแบบ Skimmining Pricing หรือ Premium Pricing ได้ 3. Place ปัจจุบันไม่ได้พิจารณาแค่สถานที่ตั้งร้านค้า เพราะโลกออนไลน์เข้ามามาก แต่จะพิจารณถึงกระบวนการกระจายสินค้า การขายผ่านช่องทางต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 4. Promotion คือ เครื่องมือในการกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อในระยะสั้นหรือช่วงเวลาหนึ่งที่นักการตลาดต้องการระบายสินค้า หรือสร้างยอดขายแบบทวีเพิ่มขึ้น เช่น เทศกาลพิเศษ เป็นต้น 5. People คน มีความสำคัญอย่างมากในการให้บริการลูกค้า การดำเนินการบริการทางการตลาดให้เกิดการไหลอย่างเหมาะสมและสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น 6. Process กระบวนการบริการ เป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนความเป้นมืออาชีพของผู้ให้บริการ การออกแบบกระบวนการต...

หน้าที่ของการตลาด

การตลาดมีหน้าที่สำคัในการขับเคลื่อนโอกาส การสร้างโอกาสในการขายสินค้า การตอบสนองความต้องการของลูกค้า การตลาดจะต้องสร้างปัจจัยกระตุ้นให้เกิดขึ้นหรือชี้นำการกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะซื้อสินค้า หา gap ความต้องการให้พบแต่กระตุ้นให้กลายเป็นความต้องการจำเป็นที่ขาดไม่ได้และต้องยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับสินค้าและบริการ สรุปได้ง่ายๆ ว่า การตลาดมีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดทัศนคติและความต้องการที่ส่งผ่านไปยังการก่อให้เกิดพฤติกรรมการซื้อ เป็นต้น

ความสำคญของการตลาด

การตลาดมีความสำคัญอย่างมากในโลกยุคใหม่นี้ ความสำคัญของการตลาดกระทบไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมาก เช่น 1. ความสำคัญกับบุคคล การตลาดทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดการคัดสรรและพัฒนาบุคลากรไปสู่การเป็นนักการตลาดที่ยอดเยี่ยม ประกอบกับยังสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณค่าตอบสนองความต้องการของลูกค้าอีกด้วยเช่นกัน 2. ความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ การตลาดมีบทบาทและหน้าที่หลักในการสร้างรายได้ ในการใช้งบประมาณเพื่อก่อให้เกิดรายได้ การตลาดที่ดีจะทำให้องค์กรมีรายได้เติบโตและมีค่าใช้จ่ายการตลาดที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้องค์กรเกิดการสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 3. ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ การตลาดทำให้เกิดการลงทุน เกิดการเคลื่อนที่ของเงินและการลงทุนทั่วทั้งประเทศและโลก เมื่อมีการตลาด การค้าขายและเศรษฐกิจย่อมเติบโตเพราะการตลาดกระุตุ้นให้คนใช้เงินในการตอบสนองความต้องการของตนเอง

วิวัฒนาการของแนวคิดการตลาด

วิวัฒนาการของแนวคิดการตลาด นับจากอดีตการตลาดมีวิวัฒนาการและเริ่มต้นมาจาก... 1. แนวคิดของการผลิต การหาวิธีลดต้นทุนการตลาด การหาสถานที่จำหน่ายสินค้าและวิธีการจัดจำหน่ายที่เหมาะสม 2. แนวคิดผลิตภัณฑ์ แนวคิดนี้มองว่าผลิตภัณฑ์คือหัวใจสำคัญ ผู้บริโภคจะยอมจ่ายเงินแลกกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิด R&D ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเต็มที่ 3. แนวคิดการขายสินค้า องค์กรเริ่มมองว่าผู้บริโภคไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น จึงต้องสร้างกลไกและเครื่องมือการตลาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าในลักษณะดังกล่าว 4. แนวคิดการตลาด แนวคิดช่วงนี้เป็นการตลาดที่พัฒนามาจนกระทั่งปัจจุบัน เริ่มมีการศึกษาตลาด สำรวจความต้องการผู้บริโภค นำเครื่องมือ Marketing Mix มาใช้และใช้เครื่องมือการตลาอื่นๆ ที่ซับซ้อนขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้า 5. แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม เริ่มนำประเด็นสังคมเข้ามามีส่วนสำคัญในการสร้างความผูกพันกับลูกค้า นอกเหนือจากการแสดงความรับผิดชอบในการขายสินค้าและบริการหรือคุณภาพผลิตภัณฑ์ แต่รวมไปถึงการป็นพลเมืองธุรกิจขององค์กร 6. แนวคิดนวัตกรรมการตลาด ยุคที่การแข่งขันรุน...

ความหมายของการตลาด

ความหมายของการตลาด อดีตที่ผ่านมา สมาคมนักการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา ให้ความหมายว่า เป็นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจ เพื่อควบคุมกำกับการเคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการจากการผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือผู้ใช้ ความหมายดังกล่าวในอดีตครอบคลุมองค์กรที่มีการขายสินค้าและบริการชัดเจน แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาและครอบคลุมประเด็นการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า

ภาพรวมเกี่ยวกับการตลาด

ภาพรวมเกี่ยวกับการตลาด การตลาดเป็นเรื่องสำคัญและเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อการสร้างรายได้จากการขายสินค้าและบริการ และสร้างความมั่งคั่งให้กับกิจการ การทบทวนวรรณกรรมและแนวคิดทฤษฎีพบว่า การตลาดประกอบด้วยภาพใหญ่ 6 ประเด็นที่สำคัญและต้องเรียนรู้ 1. วิวัฒนาการทางการตลาด นักการตลาดที่ดีต้องพิจารณาและเข้าใจระบบวิวัฒนาการทางการตลาดทั้งการเปลี่ยนแปลงของตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค เครื่องมือทางการตลาด และที่สำคัญคือ ERA หรือ Generation ของการตลาดนแต่ละยุค เพราะมีรูปแบบ เครื่องมือและปัจจัยที่แตกต่างกันไป เช่น การตลาด 1.0 2.0 3.0 และ 4.0 เป็นต้น 2. ความหมายของการตลาด มีความสำคัญที่ักการตลาดต้องเข้าใจความหมายเพื่อตีความหมายออกเป็นกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบ ดำเนินการทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม การไม่เข้าใจนิยามหรือความหมายของการตลาดอาจส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ครอบคลุมหรือจัดสรรบุคลากรที่เหมาะสมมาดูแลงานด้านการตลาด 3. วิวัฒนาการของแนวคิดการตลาด เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญ เพราะแนวคิดการตลาดมี core idea หลักและมีการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ จำนวนมาก การเข้าใจวิวัฒนา...